เล่นน้ำแล้วติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากอะไร

จากไวรัลยูทูปเบอร์สาวชาวญี่ปุ่นในชุดอินเดีย ได้ลงไปร่วมพิธีการชำระล้างร่างกายในแม่น้ำคงคา ณ ประเทศอินเดีย โดยเธอดได้จุ่มศีรษะลงในแม่น้ำพร้อมกับกวักน้ำขึ้นมาล้างหน้าอีกหลายคร้้ง ท่ามกลางชาวอินเดียคนท้องถิ่นจำนวนมาก จนกระทั่งผ่านพิธีกรรมดังกล่าวไปประมาณ 1 ชั่วโมง ยูทูบเบอร์สาวก็เกิดอาการล้มป่วยตามมา 

โดยเริ่มจากมีอาการแสบจมูกอย่างรุนแรง ก่อนจะรู้สึกเจ็บคอมาก และมีไข้สูงเมื่อตกกลางคืน ทำให้คลิปวิดีโอของเธอกลายเป็นกระแสไวรัลในตอนนี้ โชคดีที่อาการป่วยของเธอทุเลาและดีขึ้นภายใน 2 วัน หลังจากได้รับการรักษาจากโรงพยาบาล และเธอก็ได้เตือนกับทุกคนว่าอย่าได้ทำเช่นเดียวกับเธอ แม้ว่าจะรู้ว่าแม่น้ำคงคานั้นไม่สะอาด ไม่ปลอดภัยต่อสุขอนามัย และเธอก็ได้เตรียมใจไว้แล้ว แต่หลังจากที่ล้มป่วยลง ทำให้เธอปณิธานเลยว่าจะไม่หาคอนเทนต์แบบนี้ทำอีกแล้ว เพราะมันได้ไม่คุ้มเสียกับการนำชีวิตไปเสี่ยง 

โรคติดเชื้อที่เกิดจากน้ำเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และบางโรคนั้นอันตรายจนเสียชีวิตได้ และมักมีการแพร่ระบาดอยู่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งทางยูนิเซฟ และองค์การอนามัยโลก WHO มีรายงานว่า ร้อยละ 88 ของผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากการได้รับเชื้อโรคจากน้ำ เกิดจากการดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนหรือมีสารพิษปะปน รวมไปถึงการใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด โดยมีรายงานว่า ส่วนใหญ่การติดเชื้อจากน้ำส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อ Naegleria fowleri ที่มีอันตรายจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

สำหรับอาการติดเชื้อจากน้ำตามแหล่งธรรมชาติ หรือจากน้ำในที่สาธารณะ อาทิเช่น สวนน้ำ สระน้ำ ที่ไม่ระบบการรักษาและควบคุมความสะอาดให้ถูกสุขอนามัย สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 

1. กลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการท้องร่วง ท้องเสีย ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับเชื้อโรคหลากหลายตัวด้วยกัน แต่จะมีรอยโรคและอาการเดียวกัน โดยสามารถแบ่งออกตามเป็นกลุ่มเชื้อได้โดย 

  • ติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella spp. จะมีอาการท้องร่วง ถ่ายเป็นน้ำ มีไข้ แต่ถ้ามีอาการปวดท้องเกร็งร่วมด้วย อาจเกิดจากเชื้อปรสิต Cryptosporidium spp. 
  • ติดเชื้อแบคทีเรีย Shigella spp. ท้องร่วง มีไข้ ถ่ายเป็นมูกเลือด 
  • ติดเชื้อไวรัส Norovirus มีอาการท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย มึนงง 
  • ติดเชื้อ Escherichia coli มีอาการท้องร่วง ถ่ายออกมามีลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว 

การรักษาเบื้องต้น : ส่วนใหญ่อาการจะหายได้เองภาย 24 ชม. หรือในประมาณ 2-5 วัน หากมีอาการอ่อนเพลียและเสียน้ำมาก ควรดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทน แต่ในผู้ป่วยในรายที่มีอาการรุนแรง ต้องได้รับยาฏิชีวนะร่วมด้วย 

2. กลุ่มอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยอาการของโรค มีไข้สูง หนาวสั่น ไม่ไข้สูง ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งอาจได้รับเชื้อในกลุ่มตระกูล Legionella spp. 

3. กลุ่มติดเชื้อทางผิวหนัง จะมีอาการของโรคดังนี้ 

  • ผิวหนังเป็นตุ่มสีเนื้อ มีรอยบุ๋มคล้ายตุ่มสะดือตรงกลางตุ่ม ไม่คัน ไม่เจ็บ มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งอาจติดเชื้อหูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) เมื่อติดเชื้อชนิดนี้แล้ว สามารถหายได้เอง หรืออาจใช้ยาร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นยาที่มีส่วนผสมของ salicylic acid  หรือยาที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย อย่าง imiquimod 
  • ผื่นแดงเป็นจุดบนผิวหนัง มีอาการคันรุนแรงใต้ร่มผ้า สามารถหายได้เอง หรืออาจมีการติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa บริเวณหูส่วนกลางร่วมด้วย ซึ่งจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา 
  • ตาแดงเฉียบพลัน คันตา มีน้ำตาไหล มองแสงแล้วปวดตา ต่อมน้ำเหลืองหูตาบวม ซึ่งเป็นอาการติดเชื้อ adenovirus การรักษาอาการของโรค ด้วยการประคบเย็น หรือใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ไม่ควรใช้ยาที่มีเสตียรอยด์เป็นส่วนผสม เพราะจะยิ่งทำให้แผลหายช้า 
  • โรคฉี่หนู ที่พบกันได้บ่อยเมื่อเกิดน้ำท่วม แล้วต้องมีการลุยน้ำ โดยอาการโรคฉี่หนู คือ 2 ระยะ โดยระยะแรกจะมีไข้สูง ส่วนระยะที่ 2 จะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง ตาพร่า คอเคล็ด มีตุ่มที่ผิวหนัง กล้ามเนื้อและตาอาจติดเชื้อ Leptospira interrogans ที่จะพบได้ในตามแหล่งน้ำทั่วไป รวมถึงบริเวณที่มีน้ำขัง 

4. ติดเชื้อไวรัส Hepatitis A โดยอาการของโรค จะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย ตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม 

สรุป 

การป้องกันสำหรับผู้ที่ลงเล่นน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ควรกลืนหรือหายใจเอาน้ำเข้าทางจมูกหรือปาก เพราะจะเป็นช่องทางที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายเราได้อย่างง่ายดาย กรณีที่เล่นน้ำในสระว่ายน้ำร่วมกับผู้อื่น ควรอาบน้ำหรือล้างตัวให้สะอาดก่อนลงสระ และไม่ควรปล่อยสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก ปัสสาวะ ลงสระเด็ดขาด เพื่อลดโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อโรคและป้องกันการติดเชื้อ เป็นการรักษาสุขอนามัยที่ดีร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นมารยาทสังคมที่ทุกคนพึงมีและปฏิบัติ