นกชนหิน

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติร่างกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม ซึ่งก็คือ นกชนหิน (Rhinoplex Vigil) ซึ่งมันจะกลายเป็นสัตว์ป่าสงวนตัวใหม่ในลำดับที่ 20 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเและสิ่งแวดล้อมได้นำเสนอ

รู้จักนกชนหิน (Rhinoplex Vigil) สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของไทย

นกชนหิน จัดอยู่ในกลุ่มปนะเภทเดียวกันกับ นกเงือก 1 ใน 13 ชนิดของไทย ซึ่งมีการกระจายตัวอยู่ตามภาคใต้ เช่น ชุมพรไปจนถึงนราธิวาส อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าดิบชื้น และมีประชากรหลักอยู่ที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา และเขตรักษาพันธถ์สัตว์ป่าครองแสง

นกชนหินจัดเป็นนกเงือกสายพันธุ์โบราณที่มีสายพันธุกรรมเก่าแก่ถึง 45 ล้านปี ที่สันบนปามีขนาดใหญ่และหนา เนื้อในสีขาวตันคล้ายงาช้าง ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดค้าสัตว์ป่า จะงอยปากยาว ขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาว หางสีขาสมีแถบสีดำพาดขวาง บริเวณลำคอที่ไม่มีขน ตัวผู้จะสีแดงคล้ำ ส่วนตัวเมียจะมีสีฟ้าซีด ในวัยอ่อน ตัวผู้จะมีสีแดงเรื่อและตัวเมียจะเป็นสีม่วง

ปกตินกชนหินจะบินหากินในระดับยอดไม้ กินผลไม้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ลูกไทร แต่บางครั้งก็พบว่ามันกินสัตว์อื่น ๆ เช่น กิ้งก่า กระรอก และนก เป็นอาหารด้วย

นกชนิดนี้จัดเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้ช้า โดยผสมพันธุ์เพียงปีละหนึ่งครั้ง และเลี้ยงลูกแค่ครั้งละหนึ่งตัวเนื่องจากแม่นกกับลูกนกจะอาศัยอยู่ในโพรงรังที่ปิดปากโพรงไว้ เมื่อปิดปากโพรงหากเกิดอะไรขึ้นกับนกตัวผู้ ตัวเมียกับลูกก็อาจตายได้ เพราะไม่สามารถพังรังและบินออกมาได้ ซึ่งกระบวนการเลี้ยงดูจะยาวนานมากกว่า 5 เดือน ตัวเมียและลูกจึงจะสามารถออกมาจากรังได้

นกชนหินเหลือในธรรมชาติไม่ถึง 100 ตัว

ก่อนหน้านี้ นกชนหินจัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 410 ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ล่า ซื้อขาย หรือมีไว้ในครอบครองจะผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม นักชนหินก็ยังถูกลักลอบล่าอย่างหนัก จนเข้าสู่ความเสี่ยงต่อการสญพันธุ์ ซึ่งปัจจุบัน เหลือไม่ถึง 100 ตัว

การถูกเลื่อนให้เป็นสัตว์ป่าสงวนนอกจากจะเป็นการยกระดับการคุ้มครองทางกฎหมายแล้ว ยังเป็นการสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในระดับนานาชาติ กอปรกับประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) จึงมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ให้ประเทศภาคีต้องมีมาตรการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าอย่างเหมาะสม

ปัจจุบัน สัตว์ป่าสงวนมี 4 จำพวก รวม 19 ชนิดดังนี้

  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ กระซู่ กวางผา กูปรีหรือโคไพร เก้งหม้อ ควายป่า พะยูนหรือหมูน้ำ แมวลายหินอ่อน แรด ละองหรือละมั่ง เลียงผา วาฬบรูด้า วาฬโอมูระ สมเสร็จ และสมัน
  • สัตว์ป่าจำพวกนก ได้แก่ นกกระเรียน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกแต้วแล้วท้องดำ 
  • สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่เต่ามะเฟือง
  • สัตว์ป่าจำพวกปลา ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ