จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง
ย้อนกลับไปยังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1922 เมื่อครั้งที่จักรวรรดิออตโตมันพ่ายแพ้สงคราม ทำให้ดินแดนตกเป็นของอังกฤษ และพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกตั้งชื่อว่า “ปาเลสไตน์” ซึ่งมีนครเยรูซาเล็มเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ โดยก่อนทำสงครามนั้น อังกฤษได้รับปากชาวยิวที่เร่ร่อนอาศัยไปทั่วยุโรป หากช่วยให้ตนชนะสงครามได้ จะมอบดินแดนที่ยึดได้นี้ให้แก่พวกเขา จึงทำให้ชาวยิวเดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานหลังจากที่อังกฤษได้รับชัยชนะตามพันธสัญญา หลังจากที่ แต่กลับสร้างความไม่พอใจแก่ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าออตโตมันปกครอง จึงกลายเป็นชนวนความขัดแย้ง และการแย่งดินแดนระหว่างของคนทั้ง 2 กลุ่ม
โดยฝั่งชาวยิวได้กล่าวอ้างตามพระคัมภีร์ พระเจ้าประทานดินแดนแห่งนี้ให้แก่พวกเขา ในขณะที่ชาวอาหรับอย่างปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์การอาศัยอยู่มานานกว่าหลายร้อยปี เมื่อตกลงกันไม่ได้ จึงใช้ความรุนแรงเข้าปะทะและต่อสู้เพื่อแย่งชิงดินแดนเรื่อยมา
ก่อตั้งประเทศอิสราเอล
กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (UN) เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติ และทาง UN ได้มีมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ รัฐของชาวยิว (อิสราเอล) และ รัฐของชาวอาหรับ (ปาเลสไตน์) โดยให้ นครเยรูซาเล็มเป็นส่วนกลาง ไม่เป็นของฝั่งใดทั้งสิ้น
หลังจากที่ประชามติของ UN ได้แบ่งส่วนดินแดนแก่ทั้ง 2 ฝ่าย ชาวยิวได้ประกาศเอกราชตั้งดินแดนของตนเองขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “อิสราเอล” ขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ปี 1948 ท่ามกลางความไม่พอใจของชาวปาเลสไตน์ เพราะถือว่าดินแดนแห่งนี้เป็นบ้านของตน แต่กลับต้องยกให้คนอื่นโดยที่พวกเขาไม่สามารถตัดสินใจได้เอง ความโกรธแค้นนี้ก่อให้เกิดสงคราม มีการสุมกำลังชาวอาหรับในบริเวณประเทศอื่น ๆ โดยมี จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย ซาอุดิอาระเบีย และ อียิปต์ เข้าร่วมทำสงครามขับไล่อิสราเอล แต่กลับพ่ายแพ้ และยังต้องเสียดินแดนให้กับอิสราเอลเพิ่มขึ้น
กำเนิดกลุ่มปลดปล่อยปาเลสไตน์ และสงคราม 6 วัน
หลังจากพ่ายสงครามและเสียดินแดนให้กับอิสราเอล ทำให้ชาวปาเลสไตน์แทบไม่มีที่อยู่อาศัย จึงตั้งองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือ PLO และทำการต่อสู้แบบกองโจรกับอิสราเอลเรื่อยมา โดยมีเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของจอร์แดน และ ฉนวนกาซา ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของอียิปต์ เป็นพื้นที่กันชนระหว่างชาวยิวและอาหรับ
อิสราเอลไม่พอใจที่ชาติอาหรับรอบข้างให้การสนับสนุนองค์กร PLO จึงเกิดสงครามใหญ่อีกครั้งใน ปี 1967 โดยมีชาวอาหรับรอบข้างร่วมกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ ซึ่งเมื่อรวมกำลังพลทั้งหมดมีมากกว่าอิสราเอลถึง 10 เท่า แต่ก็กลับพ่ายแพ้ให้แก่อิสราเอลอีกครั้ง โดยที่อิสราเอลใช้เวลาเพียง 6 วัน ในการจัดการกองกำลังชาติอาหรับ ทำให้สงครามครั้งนี้ได้ชื่อว่า “สงคราม 6 วัน” (Six-Day War) และผลจากความพ่ายแพ้ ทำให้ชาวอาหรับต้องสูญเสียดินแดนเวตส์แบงก์และกาซาไป
กลุ่มฮามาสได้เป็นผู้นำ
หลังจากสงคราม 6 วันได้สิ้นสุดลง อิสราเอลได้ทำการขับไล่ปาเลสไตน์เดิมออกจากพื้นที่อย่างเด็ดขาด แม้ว่ากลุ่ม PLO จะพยายามเจรจากับอิสราเอลอย่างสันติก็ตาม จนกระทั่งกลุ่ม PLO ได้เสื่อมอำนาจลง และมีกลุ่มฮามาสเข้ามาแทนในปี 2006 จากการเลือกตั้งภายในของปาเลสไตน์ แต่ใช้ความรุนแรงกว่ากลุ่ม PLO ในการเข้าปะทะกับอิสราเอล โดยไม่มีการยอมเจรจาตกลงใด ๆ ทำให้มีแต่การใช้ความรุนแรงเข้าหากันเรื่อยมา
จนกระทั่งล่าสุด เกิดการปะทะระหว่างชาวปาเลสไตน์และตำรวจอิสราเอล สถานการณ์วุ่นวานและรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อฝั่งตำรวจอิสราเอลใช้กระสุนยางและระเบิดแสง โจมตีชาวปาเลสไตน์ที่กำลังประกอบพิธีในมัสยิด ทำให้มีผู้บาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย แต่ฝั่งปาเลสไตน์มีจำนวนคนเจ็บมากกว่า เพราะไร้อาวุธ นอกจากก้อนหินที่ใช้โต้ตอบ สร้างความไม่พอให้แก่กลุ่มฮามาสเป็นอย่างมาก จึงตอบโต้ด้วยการยิงจรวดกว่า 1,600 ลูกไปยังอิสราเอล ก่อให้กลายเป็นเหตุรุนแรงมากขึ้น โดยทั้งสองฝ่ายต่างยืนยันว่าจะไม่มีการยอมถอยเด็ดขาด และมีทีท่าว่าสงครามระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น โดยไม่รู้ว่าจะจบลงเมื่อไร และจบลงอย่างไร ใครจะเป็นผู้ได้ผลประโยชน์สูงสุด เพราะท้ายที่สุด ชัยชนะที่ได้มา ใช่ว่าจะคุ้มกับการที่ต้องแลกด้วยชีวิตผู้คนมากมาย และความเสียหายของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากสงคราม