ทำไมปลาบางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำเย็นกว่าจุดเยือกแข็งได้ 

ใครเคยนำปลาที่โดนแช่แข็งจนน็อค แล้วนำไปใส่ในน้ำอุณหภูมิปกติ และพบว่าปลาฟื้นคืนชีพบ้างคะ มีคนเคยทดลองนำปลาไปใส่ในไนโตรเจนเหลว และใส่ในเครื่องควบคุมอุณหภูมิ โดยให้อยู่ที่ -35 องศา จนปลาช็อคแน่นิ่งเหมือนว่ามันตายแล้ว แต่พอนำมันไปใส่ในน้ำอุณหภูมิปกติ กลับฟื้นขึ้นมาและว่ายน้ำเหมือนปลาทั่วไป เพียงแต่การว่ายน้ำของมันจะดูติด ๆ ขัด ๆ อาจยังงง ๆ อยู่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับมันก่อนหน้านี้ ทำไมปลาแช่แข็งแต่ไม่ตาย ถ้าเป็นปลาหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ ถูกนำไปแช่แข็งบ้าง จะฟื้นขึ้นมาได้เหมือนกันไหม บางทีอาจหาคำตอบได้ในทางวิทยศาสตร์  

ทำไมปลาแช่แข็งไม่ตาย 

เมื่อปี ค.ศ.1950 ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ ชื่อ Scholander ได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาที่อาศัยในน้ำทะเลที่มีอุณภูมิติดลบต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เพราะเขาเกิดความสงสัยว่าทำไมปลาพวกนั้นถึงอยู่อาศัยได้โดยไม่ตาย หลังจากได้ทำการทดลอง เขาได้ข้อสันนิษฐานว่า ปลาเหล่านั้นจะต้องมี สารป้องกันการแข็งตัว บาชนิดอยู่ในร่างกาย แต่ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าคือสารอะไรกันแน่ 

จนกระทั่งในปี 1960 นักชีววิทยา ชื่อ Arthur DeVries สามารถแยกสารป้องกันการแข็งตัวออกมาได้ โดยพบว่ามันคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในเลือดของสัตว์เหล่านั้น โดยโปรตีนตัวนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด ทำให้ปลาและแมลงบางชนิดที่ต้องอาศัยอยู่ในที่มีอุณหภูมิเย็นจัด และต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง สามารถอยู่ได้โดยไม่แข็งตาย 

โดยโปรตีนที่มีกลไกลต้านการแข็งตัวที่ว่านี้ คือ Antifreeze คือ โปรตีนที่สามารถหยุดการสร้างผลึกน้ำแข็งได้ ทำให้ปลาไม่แข็งตาย แต่จะพบได้ในปลาบางชนิดเท่านั้น ส่วนปลาชนิดอื่น ๆ ที่ไม่มีโปรตีนดังกล่าว หากถูกแช่แข็งก็อาจตายได้ในทันทีเช่นกัน

เมื่อมีการค้นพบโปรตีนต้านการแข็งตัวชนิดใหม่ ได้ให้ชื่อว่า Antifreeze Glycoproteins หรือ AFGPs นอกจากนี้ยังสามารถพบโปรตีนต้านการแข็งตัวในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืช แมลงบางชนิด หรือแม้แต่ แบคทีเรีย หรือเชื้อรา  

แต่ในกรณีของสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่ไม่มีสารต้านการแข็งตัว โดยเฉพาะสัตว์เลือดอุ่น เช่น มนุษย์ หากอยู่ในที่อุณหภูมิติดลบ หรือนำไปแช่แข็ง จะไม่สามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้ เราจะตาย เพราะเมื่ออยู่ในจุดเยือกแข็. ของเหลวในเซลล์จะกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง และทำลายเซลล์ เมื่อเซลล์ถูกทำลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ระบบการทำงานภายใน และอวัยวะทุกส่วนจะหมดสภาพ และตายในที่สุด สำหรับการแช่แข็งสามารถใช้กับมนุษย์ในกรณีเก็บศพเท่านั้น 

การแช่เย็นอวัยวะเพื่อใช้ในการปลูกถ่าย 

กรณีการแช่เย็นอวัยวะเพื่อใช้ในการปลูกถ่าย จากบุคคลสู่บุคคล ที่ต้องมีการลำเลียงเคลื่อนย้าย จำเป็นต้องแช่อวัยวะ เช่น ตับ ไต หรือ หัวใจ ในน้ำแข็งและควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 2 องศาเซลเซียสตลอดเวลา และภายในเวลาที่จำกัด ซึ่งจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และต้องทำการขนย้ายให้เร็วที่สุด เพราะเมื่ออุณหภูมิลดลง จะเกิดผลึกน้ำแข็งและขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนไปทิ่มแทงผนังเซลล์ ทำให้อวัยวะเสียหาย และไม่สามารถนำไปใช้งานได้อีก